ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

กรมอนามัย เผยเด็กวัยเรียนวัยรุ่น มีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูงขึ้น แนะพ่อแม่ชวนลูกมีกิจกรรม ทางกายเพิ่มขึ้น

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์ปี 2565 พบว่า เด็กวัยเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 15.16 และพบว่ามีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ร้อยละ 16.1 แนะพ่อแม่ชวนลูกมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในช่วงปิดเทอม

นายแพทย์มณเฑียร คณาสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงปิดเทอม เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการเล่นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือดูโทรทัศน์ ทำให้เด็กขาดการเคลื่อนไหวร่างกายและมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ รวมถึงการบริโภคขนมขบเคี้ยว น้ำหวานหรือน้ำอัดลม ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นและเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้

นายแพทย์มณเฑียร กล่าวต่อไปว่า องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กวัยเรียนวัยรุ่น อายุ 5-17 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก เฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 60 นาทีทุกวัน (สะสมต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป) และควรจำกัดเวลาที่ใช้ไปกับพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดยเฉพาะเวลาที่อยู่กับหน้าจอมือถือ คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ ซึ่งเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ควรมีพฤติกรรมเนือยนิ่งไม่เกิน 13 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ในเด็กอายุ 6-13 ปี ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 9-11 ชั่วโมง และเด็กอายุ 14-17 ปี ควรนอนหลับวันละ 8-10 ชั่วโมง

“ทั้งนี้ พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการมีสุขภาพที่ดี ดังนี้ 1) จำกัดการดูโทรทัศน์ การใช้คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือให้น้อยกว่า 2 ชั่วโมง/วัน 2) เพิ่มโอกาสให้เด็กวัยเรียนวัยรุ่นมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก จนรู้สึกเหนื่อย อย่างน้อยวันละ 60 นาทีทุกวัน (สะสมต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป) เช่น เต้นแอโรบิก วิ่ง ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก เล่นกีฬา ซิทอัพ ดันพื้น และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายช่วยให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรงสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เซลล์สมองแข็งแรงมากขึ้น ทำให้การเรียนรู้และความจำดีขึ้นมีสมาธิ มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จิตใจแจ่มใส ช่วยผ่อนคลายความเครียด อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูกซึ่งมีผลต่อความสูง ควบคู่กับการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะทำให้เด็กวัยเรียนวัยรุ่นมีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรง สูง สมส่วน” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

แหล่งข้อมูล : https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/news220466/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.