ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

กรมอนามัย แนะผู้สูงอายุไทย “กินได้ ตาดี มีแรงเดิน” สร้างสุขภาพแข็งแรง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะผู้สูงอายุไทย “กินได้ ตาดี มีแรงเดิน” หลังพบผู้สูงอายุไทย กินผักและผลไม้ลดลง เสี่ยงได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกาย เพื่อสร้างสุขภาพแข็งแรง เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
ดร.นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ และ “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” ซึ่งเป็นวันที่ลูกหลานกลับมาเยี่ยมบ้าน รวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน อย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ถือเป็นโอกาสดีในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยเฉพาะด้านโภชนาการ ซึ่งจากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 – 2563 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป กินผักและผลไม้ลดลง และกินผักผลไม้เพียงพอ (มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ส่วนต่อวัน) เพียงร้อยละ 34.8 รวมทั้ง กินเนื้อสัตว์และนมน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ทำให้ได้รับพลังงาน วิตามิน และแร่ธาตุไม่เพียงพอ โดยเฉพาะแคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีภาวะผอม กล้ามเนื้อลีบ ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เพิ่มความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม และหากมีความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมร่วมด้วย จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ดร.นายแพทย์สราวุฒิ กล่าวต่อว่า ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มวัยที่เปราะบาง มีความเสี่ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ร่างกาย เริ่มมีความเสื่อมถอยของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น การรับกลิ่นและรสชาติเปลี่ยนไป มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน มีภาวะกลืนลำบาก เบื่ออาหาร ความสามารถในการดูดซึมสารอาหารและเคลื่อนไหวลำไส้ลดลง เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุบริโภคอาหารได้น้อยลง นำไปสู่การเกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการและเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการกินอาหารที่เพียงพอและเหมาะสมตามวัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น กรมอนามัยจึงแนะนำ “กินได้ ตาดี มีแรงเดิน” ดังนี้ 1) กินดี โดยควรกินข้าว-แป้งวันละ 7-9 ทัพพี ผักวันละ 4 ทัพพี ผลไม้วันละ 1-3 ส่วน เนื้อสัตว์วันละ 6-8 ช้อนกินข้าว นมวันละ 1-2 แก้ว ลักษณะอาหารควรเป็นแบบอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย รสไม่จัด และกินอาหาร ที่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ นม ตับ เลือด ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เป็นต้น 2) ตาดี กินอาหารที่ช่วยในการทำงานของจอประสาทตา และชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ได้แก่ ผักผลไม้สีเหลืองส้ม ผักใบเขียว ปลาที่มีกรดไขมันดี ถั่วเมล็ดแห้ง ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เป็นต้น 3) มีแรงเดิน กินอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและชะลอการเสื่อมของกระดูก ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ นม ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้ ผักใบเขียวเข้ม ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น และควรรับประทานอาหารพร้อมกันทั้งครอบครัว เพื่อสร้างความอบอุ่นทางจิตใจให้ผู้สูงอายุ 
“ทั้งนี้ ผู้สูงอายุควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมง มีการเคลื่อนไหวร่างกาย หมั่นฝึกสมอง เข้าสังคม พบปะพูดคุย และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ทั้งนี้ อย่าละเลยมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ที่อาจกลับมาระบาดเพิ่มขึ้นหลังวันหยุดยาว จึงขอให้ประชาชนสังเกตอาการตนเองหากอาการหากไอ เจ็บคอ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ หายใจลำบาก ควรงดเดินทาง ตรวจ ATK ทั้งก่อนและหลังเดินทาง ระหว่างเดินทางสวมหน้ากากตลอดเวลา ล้างมือให้สะอาด และสวมหน้ากากอนามัยก่อนไปรดน้ำดำหัวขอพรผู้สูงวัย การกินข้าวสังสรรค์กันในหมู่สมาชิกในครอบครัวควรใช้ช้อนกลาง หรือนั่งกินอาหารในที่โล่ง ระบายอากาศดี อาจหลีกเลี่ยงการออกไปสังสรรค์นอกบ้าน เพราะอาจนำเชื้อโรคกลับมาติดผู้สูงอายุในครอบครัว” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

แหล่งข้อมูล : https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/189800/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.