ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

นิ่วทอนซิล ไม่อันตรายแต่ไม่ควรละเลย

การทำความสะอาดช่องปากเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ หากไม่ได้รับการดูแลอาจมีเศษอาหารติดอยู่บริเวณซอกหลืบของต่อมทอนซิลจนเกิดการรวมตัวของแบคทีเรียและเชื้อรา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อย ๆ จับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่า “นิ่ว” บริเวณต่อมทอนซิล ทำให้เกิดปัญหามีกลิ่นปาก เกิดการระคายเคือง เจ็บคอ ไอเรื้อรังหรือทำให้ต่อมทอนซิลบวมได้

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า นิ่วทอนซิลเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาทอนซิลอักเสบหลายครั้งมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากการติดเชื้อของทอนซิลทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อส่วนเกินมากขึ้น และเนื้อเยื่อเหล่านี้อาจก่อตัวเป็นซอกและร่องในต่อมทอนซิล จึงทำให้เซลล์ที่ตายแล้ว น้ำลายและเศษอาหาร    ต่าง ๆ ติดอยู่จนเกิดการรวมตัวของแบคทีเรียและเชื้อรา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อย ๆ จับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่านิ่ว โดยนิ่วทอนซิลเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของต่อมทอนซิล มีลักษณะเป็นก้อนสีเหลืองหรือสีขาวขนาดเท่ากับเมล็ดถั่ว โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแต่อาจทำให้เกิดกลิ่นปาก เกิดการระคายเคือง เจ็บคอ ไอเรื้อรังหรือทำให้ต่อมทอนซิลบวม หรือเจ็บบริเวณหู ซึ่งเป็นผลจากการอักเสบของทางเดินประสาทร่วมระหว่างหูและต่อมทอนซิลได้

                แพทย์หญิงกัลยาณี วิทยเจียกขจร นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี 2 (รังสิต) กล่าวเสริมว่า สำหรับการวินิจฉัยนิ่วทอนซิลแพทย์จะวินิจฉัยโดยการใช้เครื่องมือตรวจที่ ช่องคอหรือบางกรณีอาจใช้ภาพเอกซเรย์หรือภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย ซึ่งปกติแล้วผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาใด ๆ หากอาการไม่รุนแรง แต่หากนิ่วทอนซิลมีขนาดใหญ่หรือมีอาการต่าง ๆ เช่น เจ็บคอ มีกลิ่นปากมาก ต่อมทอนซิลบวมอักเสบ หรือปัญหาในการกลืนอาหาร ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา สำหรับการรักษานิ่วทอนซิลสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์และระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น เช่น ในกรณีที่มีนิ่วทอนซิลขนาดเล็กสามารถกลั้วคอบ้วนน้ำเกลืออุ่น ๆ หรือใช้คอตตอนบัดก้านสำลีเขี่ยออกได้ แต่ถ้ามีขนาดปานกลางถึงใหญ่ อาจจะต้องทำการผ่าตัดต่อมทอนซิลเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อบริเวณที่มีนิ่วออกไป สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วทอนซิลนั้น ทำได้โดยการดูแลช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอบ้วนปากด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปาก วิธีนี้จะช่วยลดการก่อตัวของนิ่วและกลิ่นปาก ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดต่อมทอนซิลอักเสบ หรือหากพบ สิ่งผิดปกติของต่อมทอนซิลควรรีบเข้าพบแพทย์ไม่ควรใช้เครื่องมือเอาออกเองอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหรือทำให้เลือดออกได้ 

ที่มา : https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/193323

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.