การใช้งาน SQL Query ใน Hosxp PCU

การใช้งาน Hosxp PCU ในบางครั้ง เราจำเป็นจะต้องดำเนินการบางอย่างกับฐานข้อมูล Hosxp PCU ของเรา  เช่น การเพิ่มรหัส U77x , การแก้ไขรหัสวัคซีนที่ผิด ฯลฯ  ดังนั้นการที่เราจะเข้าไปแก้ไขฐานข้อมูลของ Hosxp PCU เราจำเป็นจะต้องศึกษาการใช้งาน เครื่องมือ SQL Query ที่มีอยู่ในโปรแกรม Hosxp PCU  เพื่อใช้งานได้อย่างถูกต้อง

การเปิดใช้งาน SQL Query

 

ให้กดไปที่ Query ก่อน

 

เราจะพบหน้าตาแบบนี้  ซึ่งพร้อมที่จะดำเนินการใดๆ ได้แล้วครับ

 

จากนั้นเราจะมาดูเครื่องมือต่างๆที่มีให้ พร้อมวิธีการใช้งานครับ

Open Table : การเรียกตารางที่เราต้องการ

Run : การรันคำสั่ง SQL เพื่อเรียกดูข้อมูล

Exec : การรันคำสั่งเพื่อปรับปรุงข้อมูลในตาราง

Update : การแก้ไขข้อมูลในตารางโดยตรง

Save : การเซพข้อมูล+รูปแบบของตารางในรูปของ *.cds

Open : การเปิดไฟล์ข้อมูล+รูปแบบของตาราง *.cds

Append : การนำไปใช้ หรือ ยืนยันการใช้งาน ข้อมูล *.cds

TH : รูปแบบตัวอักษร  ภาษาไทย  สามารถพิมพ์ไทยได้* *แต่ก๊อปปี้ตัวอักษรภาษาไทยมาวางไม่ได้  มันจะขึ้นภาษาต่างดาว

EN : รูปแบบตัวอักษร  ภาษาอังกฤษ

อย่าพึ่ง งง กับคำอธิบายครับ !!!  ไปดูวิธีใช้งานแต่ละตัวอย่างละเอียดได้เลย

 


 

Open Table : การเรียกตารางที่เราต้องการ ออกมาดู

คลิ๊กเลือกตรงลูกศรชี้ จะมีรายชื่อตารางต่างๆมาให้เราเลือก  หรือเราสามารถพิมพ์ชื่อตารางลงไปในช่องนี้ได้เลยครับ

 

เมื่อเลือกตารางที่ต้องการได้แล้ว  ให้กด Run   ก็จะปรากฏรายละเอียดตารางที่ด้านล่างครับ

**การ กด Run จะใช้ในกรณี เรียกดูข้อมูลครับ**


 

Exec : การปรับปรุงแก้ไขตารางต่างๆ ด้วยโค๊ค

ในบางครั้ง จะมีการแก้ไขข้อมูลในตารางต่างๆ  ด้วยการใช้โค๊ค

ทาง admin ระดับอำเภอ/ จังหวัด  อาจจจะแจ้งให้ทุก รพ.สต.เอาโค๊ด SQL ไปดำเนินการเอง  หลายๆท่านก็งง ทำไม่เป็น ก็ต้องคอยให้ Admin ระดับอำเภอ ดำเนินการให้  แต่ในวันนี้เราจะสอนวิธีการให้ทุกท่านสามารถดำเนินการได้เอง  เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไปครับ

ตัวอย่างคำสั่ง SQL :

delete from person

where person_id = 2

คำสั่งนี้ หมายถึง จะทำการลบข้อมูล 1 แถว ที่ person_id เท่ากับ 2 ครับ

* * อย่าลองในฐานจริงๆนะครับ  ฐานจะเสียหายได้   ให้ทดลองในฐานสำรองครับ**

หลังจากวางโค๊ดในช่อง Query เรียบร้อยแล้ว  ให้กด Exec    (* ไม่ใช่การกด Run นะครับ)

เท่านี้ข้อมูลก็จะถูกลบเรียบร้อยครับ  1 แถว

 


 

Update : การแก้ไขข้อมูลในตารางโดยตรง

ในบางครั้ง เมื่อเราเรียกตารางที่ต้องการ และกด Run เพื่อดูข้อมูลต่างๆในตารางเรียบร้อยแล้ว  เราอยากจะแก้ไขข้อมูลในตารางนั้นๆเลย  โดยเอาเม้าท์ไปเลือกที่ข้อมูล ในช่องใดๆ แล้วแก้ไข  แต่…  ข้อมูลในตารางนั้นจะยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลง  จนกว่าเราจะกดปุ่ม Update ครับ

ตัวอย่าง  ผมลองเลือกตาราง pe_template ขึ้นมา แล้วกดปุ่ม Run  ก็จะได้หน้าตาดังนี้

 

จากนั้นให้เราแก้ไขค่าต่างๆในตาราง โดยเอาเม้าท์ไปเลือกและพิมพ์ค่าที่ต้องการ  เมื่อเสร็จแล้วให้กด Update ได้เลยครับ

ก็จะมีปุ่ม Confirm มาให้เรากดอีกครั้ง  เพื่อยืนยันการแก้ไขข้อมูลในตาราง ครับผม


 

การใช้งาน Save, Open และ Append

การทำงานในส่วนนี้ เราจะทำงานกับไฟล์ที่มีนามสกุล .cds ครับ  ไฟล์นามสกุลนี้จะเก็บข้อมูลและรูปแบบตารางเอาไว้ หรืออาจจะเรียกง่ายๆว่า ไฟล์แบ็คอัพ ของตาราง ก็ได้  หลายท่านอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจ  เอาเป็นว่าเรามาดูวิธีการใช้งานจริงกันเลยดีกว่าครับ

เรามาเริ่มที่ปุ่มแรก  ปุ่ม Save

แต่ก่อนอื่นเราต้องเลือกตารางที่ต้องการออกมาก่อน ด้วยปุ่ม Run  จากนั้น ให้เราลองกด Save ดู

 

จะปรากฏหน้าต่างพื้นที่ในคอมฯ ให้เราเลือกว่าจะเก็บไฟล์  .cds นี้ เอาไว้ที่ไหน

ให้เราตั้งชื่อตาม ชื่อของตารางครับ จะได้จำง่ายๆ  ในกรณีนี้  เราจะเซพเป็น code504.cds 

*เราก็จะได้ไฟล์ตาราง code504 เก็บสำรองไว้แล้ว

 

จากนั้นให้เราทดลอง ลบข้อมูลในตารางนี้ดูครับ  ไม่ต้องกลัวตารางเสียครับ เพราะเราได้สำรองเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว  โดยให้ทำตามขั้นตอน 1-3 เลยนะครับ

 

จากนั้น เราจะเห็นว่า แถวแรกสุด code  01 จะหายไป เหลือแต่ 02 เป็นแถวแรก  ไม่ต้องตกใจครับ  เราจะเรียกมันกลับคืนมาให้ครับ ด้วยการกด Open

 

เลือกไฟล์ตารางนี้ ที่เราเคยสำรองไว้ก่อนหน้า ชื่อ code504.cds  และกด Open ครับ

 

ข้อมูลจากไฟล์ code504.cds จะปรากฏขึ้นมาแทนที่ โดยจะเห็นว่า แถวแรก code 01 กลับมาแล้ว  แต่ยังไม่เสร็จนะครับ ไปดูขั้นตอนต่อไปเลย..

 

ณ ขณะนี้ ข้อมูลในตารางของเรายังถือว่า  ยังไม่มีข้อมูลแถวแรก  code 01 ครับ  จนกว่าเราจะกด Append เสียก่อน

 

พอกด Append แล้ว มันอาจจะขึ้นหน้าต่าง TDebugForm ขึ้นมาแบบนี้  ไม่เป็นไรครับ

โดยจะอธิบายได้ง่ายๆ ก็คือ แถวแรก code 01 ในตารางมันไม่มี  แต่ในไฟล์  code504.cds มันมี พอเรากด Append นำมาทับข้อมูลในตารางเดิม  เนื่องจาก  code 01 มันไม่มี   มันก็เลยเพิ่มได้เลย  ไม่ Error

แต่..  code 02 ถึง 21 มันมีของเดิมอยู่แล้ว  มันก็แจ้ง Error ว่า มันมีอยู่แล้วนะ ไม่สามารถเขียนทับได้  อะไรประมาณนี้    ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือข้อผิดพลาดร้ายแรงใดๆ

 

ก็มาถึงขั้นตอนสุดท้าย  ลองทดสอบดูหน่อยว่า  มันเพิ่มข้อมูล  code  01 กลับคืนมาแล้ว จริงๆรึเปล่า   ลองทดสอบกันดูครับ แต่ผมลองแล้ว มันก็กลับมาเหมือนเดิม ดังภาพที่เห็น

ก็เสร็จสิ้นไปแล้วนะครับ  สำหรับการใช้งาน SaveOpen และ Append  โดยมีไฟล์ที่เกี่ยวข้อง คือ *.cds  หวังว่าหลายๆท่านคงจะเข้าใจในการใช้งานปุ่มเหล่านี้  และการนำไฟล์ *.cds ไปใช้งาน

ซึ่งบางครั้ง  Admin ระดับจังหวัด หรือ อำเภอ อาจจะแจ้งให้ทุกท่านให้นำไฟล์  .cds ไปใช้งาน  ท่านก็จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องครับผม


 

ส่วนที่เหลือ ในเรื่องภาษา  TH,  EN

ไม่มีอะไรมากครับ สำหรับปุ่มทั้ง 2 ปุ่มนี้  เป็นการปรับตัวอักษร ให้เข้ากับภาษาที่เราพิมพ์เท่านั้น  ลองกดดูได้ครับ ไม่เสียหายอะไร

ในตัวอย่างนี้คือ EN ครับ

 

ในตัวอย่างนี้คือ TH  หรือ ไทย

เมื่อเรากด TH แล้ว  เราจะสามารถพิมพ์ภาษาไทย ลงใน ช่องพิมพ์โค๊ดได้ครับ แต่ตัวหนังสือมันจะไม่สวยเท่าไหร่   แต่สำหรับข้อเสีย คือ  เราไม่สามารถ ก๊อปปี้ข้อความที่มีภาษาไทยไปวางในช่องพิมพ์โค๊ดได้ครับ   เพราะมันจะขึ้นเป็นภาษาต่างดาวทันที

ดังนั้นเราจึงต้องพิมพ์ภาษาไทย ลงไปแบบตรงๆเท่านั้นครับ (หากจะเขียนโค๊ดที่มีภาษาไทย ร่วมด้วย)

ในส่วนของภาษา ก็คงจะเข้าใจได้ไม่ยากเท่าไหร่  เชื่อว่าทุกๆท่านคงจะสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีครับ

สำหรับการใช้งาน SQL ใน Hosxp PCU ที่ได้เขียนไว้นี้ คิดว่าคงจะมีความละเอียด ครอบคลุมทุกส่วน ที่เราต้องใช้งานแล้วนะครับ สำหรับปุ่มอื่นๆ ที่ไม่ได้บอกไว้  แนะนำว่า  ไม่ควรไปยุ่งกับมันครับ  เอาแค่นี้ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้วครับ   หรือใครไฟแรงอยากจะลอง ก็ไม่ว่ากันครับ  แต่อย่าไปทำในเครื่องจริงๆก็แล้วกันครับ  เดี๋ยวมีเจ๊งมาละยุ่งเลย   สุดท้ายหากท่านใด พบปัญหาการใช้งาน สามารถแจ้งได้ในกลุ่ม face นะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Translate »