การบันทึกข้อมูลแพทย์แผนไทย
งานแพทย์แผนไทยเป็นอีกหนึ่งงานที่กำลังเป็นที่น่าสนใจของกระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งทางเลือกในการให้บริการ การบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องจะเป็นผลงานที่ดีกับสถานบริการของเราและในภาพรวม วันนี้ขอนำเสนอการบันทึกข้อมูลแพทยฺแผนไทยตามขั้นตอนต่อไปนี้เลยครับ
1.เลือกปุ่มเมนู ระบบงานเชิงรับ เลือก One stop service(ดังภาพ)จะได้พบกับหน้าจอ หน้าต่างของ one stop service
2.ค้นหาชื่อ ผู้รับบริการ โดยค้นจาก ชื่อ-สกุล,HN หรือ ค้นตามที่อยู่
3.กดปุ่ม ตกลง จะปรากฏผู้รับบริการที่ค้นหา และให้คลิก ส่งตรวจจะพบกับหน้าจอ (ดังภาพ)
- กรอกข้อมูลส่วน คัดกรอง,การวินิจฉัยโรค,ลงการจ่ายยา ให้ครบถ้วน แล้วคลิก แพทย์แผนไทยจะปรากฏ
5.คลิกปุ่มบันทึกส่งตัว จะปรากฏลำดับการส่งตัวข้างล่าง จากนั้นกด ปุ่มปิด
6.กลับมาที่หน้า One stop service อีกครั้ง และกดปุ่มบันทึก
7.เลือกเมนูระบบงานอื่นๆ คลิกที่รายการ งานแพทย์แผนไทย
8.คลิกปุ่ม รอรับบริการ เลือกผู้รับบริการที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่มรับตัวผู้ป่วย หรือ ดับเบิ้ลคลิ๊กเลยก็ได้
** กรอกข้อมูล ในส่วน การรักษา/หัตถการ ดังนี้
>> ระบุ ผู้ตรวจวินิจฉัย ประเภทการรักษา การรักษา และหัตถการ ให้ครบถ้วน
หมายเหตุ ผู้ที่ทำหน้าที่ซักประวัติตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค และสั่งการรักษา
1. เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
1.1 สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือ
1.2 สาขาการแพทย์แผนไทย
1.2.1 ประเภทเวชกรรมไทย หรือ
1.2.2 ประเภทผดุงครรภ์ไทย (ทำการประกอบโรคศิลปะเฉพาะสาขาประเภทของตน) หรือ
1.2.3 ประเภทการนวดไทย (ทำการประกอบโรคศิลปะเฉพาะสาขาประเภทของตน) หรือ
- 2. เป็นบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบ วิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยหรือคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่สามารถทาการซักประวัติตรวจร่างกายวินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาได้
หมายเหตุ
บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2545 จะทำหน้าที่ซักประวัติ ตรวจร่างกายวินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาให้ กับผู้รับบริการนวดได้ ภายใต้ขอบเขตของการประกอบโรคศิลปะ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ตามที่ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2545 กำหนดไว้เท่านั้น และถึงแม้ว่า จะทำหน้าที่ซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาให้กับผู้รับบริการได้ แต่ถ้าเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2539 ก็จะไม่สามารถ ออกใบรับรองการรักษาให้กับผู้รับบริการ เพื่อนำไปประกอบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้หนังสือกระทรวงการคลังที่ ก.ค 0417/ว7 ลงวันที่ 11 มกราคม 2548)
** ให้เลือก การบริการ และหัตถการ ตามผู้สั่งการรักษา โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้
ประเภทการบริการ และหัตถการ
1.การบำบัดและการักษาพยาบาล/การฟื้นฟู
-นวดเพื่อการรักษา/ฟื้นฟู
– การอบไอน้ำสมุนไพรเพื่อการรักษา/ฟื้นฟู
– การประคบสมุนไพรเพื่อการรักษา/ฟื้นฟู
– การทับหม้อเกลือ
– การรักษาเรื่องอื่นๆ
– ยาสมุนไพร
2.การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
– การให้คำแนะนำ การสอน การสาธิต ด้านแพทย์แผนไทย
– ส่งเริมเรื่องอื่นๆ
– การฝึกสมาธิบำบัด
– การนดเพื่อสุขภาพ
– การฝึกกายบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน
– การประคบสมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
– การอบไอน้ำสมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
ข้อแนะนำ หากเป็นการส่งจ่ายยาสมุนไพรอย่างเดียว ก็ไม่ต้องกรอกข้อมูลในส่วนหัตถการ
กรอกข้อมูลส่วน ซักประวัติ/วินิจฉัยโรค
ข้อแนะนำ การวินิจฉัยโรค หากไม่ทราบรหัส ICD 10 ให้คลิกที่ค้นหา พร้อมระบุอาการที่ต้องการ
หลังจากนั้นจะมีรายการรหัส ICD 10 ให้เลือก
กรอกข้อมูลในส่วน รายการยา/เวชภัณฑ์
**อย่าลืมลงข้อมูลด้านล่างด้วยครับ
-ทำเครื่องหมายติ๊กถูกในช่องสี่เหลี่ยมหากให้บริการในสถานพยาบาล หากเป็นการให้บริการนอกสถานบริการให้ลบเครื่องหมายติ๊กถูกออก
-ประเมินสถานะ จะมีรายการให้เลือก ดังนี้, นัดต่อเนื่อง, หาย, ดีขึ้น, ส่งต่อ และอื่นๆ
-กดปุ่มบันทึก เสร็จสิ้น
การบันทึกงานแพทย์แผนไทย ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรมากมาย เพียงแต่เราต้องบันทึกให้ถูกต้องจะได้ให้ผลงานที่มีอยู่จริงเพิ่มขึ้นจากเดิม ขั้นตอนการรบันทึกแพทย์แผนไทยนี้คงช่วยให้ท่านลงบันทึกข้อมูลได้ครบถ้วนมากขึ้น