ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

กรมอนามัย แนะ ประชาชนเลือกทำกิจกรรมทางกาย ช่วงเช้าหรือเย็น เลี่ยงโรคฮีทสโตรก

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะ ประชาชนเลือกทำกิจกรรมทางกายกลางแจ้ง ช่วงเช้าหรือเย็น เลี่ยงโรคฮีทสโตรก ในช่วงหน้าร้อน หรือเลือกทำกิจกรรมในอาคารหรือในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรสวมชุดที่ระบายเหงื่อและความร้อนได้ดี และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

                นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ปัจจุบันประชาชนหันมาดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น โดยเลือกทำกิจกรรมทางกายกลางแจ้งในสวนสาธารณะมากขึ้น เช่น วิ่ง แอโรบิก ปั่นจักรยานเดินออกกำลังกาย ซึ่งช่วงหน้าร้อน สภาพอากาศมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ที่ทำกิจกรรมในที่กลางแจ้ง  เสี่ยงเกิดโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้ง่ายมากขึ้น โดยอาการของโรคนี้คือ 1) เหงื่อไม่ออก 2) สับสน มึนงง  3) ผิวหนังเป็นสีแดง และ 4) ตัวร้อนจัด หากพบผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กรณีผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ให้พาผู้ป่วยหลบเข้าที่ร่ม ในรถ หรือห้องที่มีความเย็น ให้นอนราบ ยกเท้าและสะโพกสูง ถอดเสื้อผ้าให้เหลือเท่าที่จำเป็น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว ใช้พัดลมเป่าหรือวางถุงน้ำแข็งที่คอ รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับต่างๆ  หากผู้ป่วย เป็นลม หมดสติ หายใจไม่สม่ำเสมอหรือหายใจช้าผิดปกติ ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้คลำชีพจร และรีบช่วยฟื้นคืนชีพและนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วเพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน หรือโทร 1669

               นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ประชาชนควรปรับเวลาหรือลดเวลาการมีกิจกรรมทางกายกลางแจ้งในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัด เช่น ทำกิจกรรมทางกายในช่วงเช้าและช่วงเย็น หรือเลือกทำกิจกรรมในอาคารหรือในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรสวมชุดที่ระบายเหงื่อและความร้อนได้ดี และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะโรคฮีทสโตรก ควรหลีกเลี่ยงอยู่กลางแจ้งในสภาพอากาศที่ร้อนจัด ได้แก่ 1) กลุ่มคนที่ทำงานกลางแจ้งที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) กลุ่มนักวิ่งมาราธอนต่างๆ ที่จะต้องสัมผัสอากาศที่ร้อนหรือความชื้นที่สูงทำให้ไม่สามารถขับเหงื่อได้ 3) คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคนที่ดื่มน้ำน้อย ควรหลีกเลี่ยงการกิจกรรมทางกายในที่กลางแจ้งในช่วงที่อากาศร้อนจัด 

               “นอกจากนี้ กลุ่มเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยให้อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรให้ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคอ้วน ออกกำลังกายกลางแจ้งหรือทำกิจกรรมที่เหนื่อยจนเกินไป ส่วนหญิงตั้งครรภ์หากต้องเดินทางไกลควรมีผู้ดูแล ร่วมเดินทางด้วยเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิดและป้องกันอุบัติเหตุหากมีอาการหน้ามืด วิงเวียน หรือเป็นลม เมื่อเจออากาศที่ร้อนจัดภายนอก และไม่ควรทิ้งเด็กหรือผู้สูงอายุให้อยู่ในรถที่ปิดสนิทจอดและกลางแจ้งตามลำพัง เป็นเวลานาน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

ที่มา : https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/news_060466/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.